วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ ราคาประหยัด


ไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ ราคาประหยัด



รายละเอียดวงจร


วงจรไฟฉุกเฉินนี้ใช้ LED สีขาวความสว่างสูง 12 ดวง เป็นตัวให้แสงสว่าง โดยมีการทำงานดังต่อไปนี้:

1. ใช้ หลอด LED ซึ่งมีความสว่างและประหยัดไฟฟ้า
2. แสงสว่างอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับจะปิดเองเมื่อไฟฟ้ามาปกติ
3. มีระบบชาร์จแบตเตอรี่ในตัว และเมื่อแบตเตอรี่ถูกชาร์จเต็มแล้ว วงจรชาร์จจะหยุดทำงานอัตโนมัติ

วงจรมีส่วนประกอบ 2 ส่วนด้วยกันคือ: วงจรสำหรับชาร์จแบตเตอรี่ และวงจรขับหลอดไฟ LED      ส่วนของวงจรชาร์จแบตเตอรี่ ได้จากตัวหลัก ( IC1 ) LM317 ซึ่งเป็นไอซีเรคกูเรเตอร์ชนิด 3 ขาแบบปรับแรงดันได้ และส่วนวงจรขับ LED อุปกรณ์หลักก็คือทรานซิสเตอร์ BD140 ( T2 )
 
      การทำงานของวงจรชาร์จ  จากไฟฟ้า AC 220V จะถูกแปลงลงเป็นไฟ AC 9V ด้วยหม้อแปลงขนาด 9V, 500mA และถูกแปลงเป็นไฟฟ้า DC  ด้วยวงจร bridge rectifier ประกอบด้วยไดโอด ( IN4007x4 ) และกรองกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเก็บประจุ ( 25V / 1000uf ) ได้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ป้อนเข้าที่ขาอินพุต ขา3 ของ IC1 และออกจาก IC1 ผ่านไดโอด IN4007 ( D5 ) ไปยังตัวต้านทาน ( 16ohm ) R16
      โดยมีตัวต้านทานปรับค่าได้ 2.2K ( VR1 ) เป็นตัวปรับตั้งค่าแรงดันเอาท์พุท ในสภาวะที่แบตเตอรี่ถูกชาร์จอยู่ จนกระทั่งแบตเตอรี่มีแรงดันเป็น 6.8V  โดยมีซีเนอร์ไดโอดเป็นตัวจำกัดแรงดัน จากขา adj ของ ( IC1 ) ผ่านทรานซิสเตอร์ BC547 ( T1 ) ลงกราวน์ และจะหยุดการชาร์จของแบตเตอรี่
      ส่วนวงจรขับ LED ใช้หลอด LED ขนาด 10mm สีขาว จำนวน 12 ดวง ไฟ LED ทั้งหมดต่อแบบขนานกับ โดยมีตัวต้านทาน 100 โอห์ม ต่ออนุกรมอยู่กับ LED  ขั้วบวกของไฟ LED 12 ดวงต่อรวมกันไปเข้าที่ขา E ของ T2 ทรานซิสเตอร์ PNP และขา C ของทรานซิสเตอร์ T2 ต่อเข้ากับขั้วบวกของ แบตเตอรี่ 6V
      ในสภาวะปกติ จะมีแรงดัน DC จากวงจร bridge rectifier ทำให้มีกระแสไหลเข้าขา B ของ ทรานซิสเตอร์ T2 โดยผ่านตัวต้านทาน 1k ทำให้ขา B ของทรานซิสเตอร์ T2 ยังคงสถานะ High และ T2 ไม่ทำงาน ไฟ LED จึงไม่ติด ในทางตรงกันข้าม เมื่อไฟฟ้าดับ ขา B ของทรานซิสเตอร์ T2 กลายสถานะเป็น Low ทำให้ T2 ต่อวงจรให้ไฟ LED ทั้งหมด ( LED1 ถึง LED12 ) ติดสว่าง จากการจ่ายไฟของแบตเตอรี่ และยังคงทำให้ไฟ LED ติดตลอดในช่วงที่ไฟฟ้าดับ
      การประกอบวงจร  ใช้แผ่น PCB เอนกประสงค์ทั่วไป และใส่ในกล่องที่มีพื้นที่พอสำหรับใส่แบตเตอรี่และติดตั้งไฟ LED ในกล่อง และจะทำให้ LED สว่างขึ้นถ้ามีตัวสะท้อนแสง
      ที่ตู้เจาะรูร้อยสายไฟ เพื่อทำปลั๊กต่อกับไฟบ้าน AC 220V สำหรับ ส่วนของLED สามารถมีได้มากกว่า 12 ดวง  โดยดูจากกระแสรวม ไม่ควรเกิน 1.5A  เพราะทรานซิสเตอร์ T2 สามารถทนกระแสได้ถึง 1.5A ถ้ามีแผ่นระบายความร้อนที่เหมาะสม

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เครื่อตั้งเวลา แสดงผลโดย LCD 16x2

เครื่องตั้งเวลาระบบดิจิตอล เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า 
      โครงงานนี้ อธิบายถึงโปรแกรมตั้งเวลาดิจิตอล โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16F628A  
สามารถโปรแกรมเวลาการเปิด-ปิดการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยควบคุมผ่านรีเลย์
สามารถตั้งค่าได้ทั้งเวลาเปิดและเวลาปิด สามารถกำหนดช่วงเวลาเปิด-ปิด
สูงสุดได้ถึง 99 ชั่วโมงและ 59 นาที โดยใช้ 16 × 2 จอแอลซีดี และ 4 ปุ่มกดในการโต้ตอบกับผู้ใช้ 

ดูเพิ่มเติมได้ที่: http://embedded-lab.com/blog/?p=1378 # sthash.HAJFYmRf.dpuf


























การออกแบบวงจร

     จากวงจรด้านล่าง รีเลย์ 5 V ที่มีทรานซิสเตอร์ PN2222 เป็นไดรเวอร์ และถูกควบคุมโดยขา RB3 ของ PIC16F628A  

     สัญญานอินพุทจากปุ่มกดทั้ง 4 ปุ่ม จะถูกส่งผ่านขาพอร์ต RA2, RA3, RA4 และ RB0 โดยฟังก์ชั่นของปุ่มกดทั้ง 4 ปุ่มแสดงอยู่ที่ด้านล่างซ้ายของภาพ และมีจอแอลซีดีขนาดมาตรฐาน 16 × 2 เป็นตัวแสดงสถานะของอุปกรณ์และการโปรแกรมเวลา จอแอลซีดีทำงานในโหมด 4 บิต ดังนั้นจึงใช้เพียง 6 ขาของ PIC16F628A ในการติดต่อกับจอแอลซีดี 
      ลำโพง piezo จะส่งเสียงเมื่อมีการเริ่มต้นจับเวลาและเมื่อเวลาหยุด นอกจากนี้ยังดังขึ้นเมื่ออุปกรณ์ถูกเปิดหรือปิด แหล่งจ่ายไฟ 5V + มาจากอะแดปเตอร์ 9 โวลต์ ผ่าน IC ควบคุมแรงดัน LM7805















        จากวงจร จะเห็นว่าขา 15 และ 16 ของจอแอลซีดีจะปล่อยลอยไว้ ทั้งสองขานี้ ใช้เฉพาะแอลซีดีรุ่นที่มีไฟ LED ส่องด้านหลัง โดยขาทั้งสองนี้จะเป็นขั้วบวกและขั้วลบของ LED หากจอแอลซีดีของเราที่ได้มามี LED ส่องด้านหลัง ก็สามารถต่อกับแหล่งจ่ายไฟ โดยใช้ตัวต้านทาน 39โอห์มต่ออนุกรม แสงไฟ LED จะช่วยเพิ่มความสามารถในการอ่านของจอแสดงผลแอลซีดีในสภาพที่มีแสงน้อย

แสดงการต่อวงจร โดยใช้แผ่นวงจรอเนกประสงค์ทั่วไป




























 การทำงานของเครื่องตั้งเวลาเครื่องตั้งเวลานี้ทำงานโดยการสั่งงานปุ่มกดทั้ง 4 ปุ่ม โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานอธิบายได้ ดังนี้

    
ON / OFF TIME : เครื่องตั้งเวลานี้ สามารถตั้งค่าได้ทั้งเวลาเปิดและเวลาปิด เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรก เครื่องอยู่ในสภาวะ OFF และเวลาเปิด-ปิดอยู่่ที่ 0 เราสามารถกดปุ่มนี้สลับไปมาเพื่อเลือกระหว่างการตั้งเวลาเปิดหรือตั้งเวลาปิดโดยดูจากจอแสดงผล
    
SELECT : เป็นปุ่มที่ใช้เลือกหลักตัวเลขของเวลาชั่วโมง และ นาที เมื่อเลือกหลักตัวเลขชั่วโมงหรือนาทีแล้ว เราสามารถเพิ่มตัวเลขโดยการกดปุ่ม ON / OFF TIME
    
ENTER : เมื่อตั้งเวลาชั่วโมงและนาที เสร็จแล้ว ก็กดปุ่ม ENTER  เพื่อจบการเวลา
    
START / STOP : ใช้ในการเริ่มต้น หรือ หยุดการจับเวลา ในขณะที่ตั้งเวลาอยู่ เราสามารถหยุดการตั้งเวลาได้ตลอดเวลา โดยการกดปุ่มนี้ 

     วิธีการทำงานของเครื่อง สมมติว่า อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับสวิตช์ รีเลย์ ถูกตั้งเวลาให้เปิดหลังจาก 2 นาที (OFF  00:02) และหลังจากนั้นจะเปิดใช้งานต่อไปอีก 20 นาที (ON  00:20) จึงปิดการใช้งาน ในกรณีนี้ การตั้งเวลาเปิดเครื่องคือ OFF 00:02 และเวลาในการปิดเครื่องคือ ON 00:20 ในรูปแบบ hh:mm  
      เมื่อเริ่มกดปุ่ม START อุปกรณ์ที่ต่ออยู่จะปิดอยู่ และเปิดทำงานหลังจากครบ 2 นาทีและ ยังคงเปิดทำงานต่ออีกจนครบเวลา 20 นาที หลังจากนั้นอุปกรณ์จะถูกปิดอีกครั้ง 
     วิดีโอต่อไปนี้ แสดงให้เห็นการทำงานเครื่อง



 โปรแกรม
เป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจาก Mikro C Pro สำหรับ PIC
- Download the Source Code
- Download the HEX File 





























แผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) ครับ
https://drive.google.com/file/d/0BwqGkpfHRpJzLTVmaXVGY2ljZVE/view?usp=sharing
Download the Source Code
Download the Source Code

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รวบรวมWebside ที่น่าสนใจ

รวบรวม Webside เกี่ยวกับ บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์

ไมโครคอนโทรลเลอร์ บอร์ด กับ แอนดรอยด์
http://www.youtube.com/playlist?list=PL208F453626977DFF

วารสาร The Prototype Electronics Magazine
https://www.facebook.com/tpemagazine

เวปของ Innovative Experiment (Inex)
http://www.inex.co.th/inexstore/

เวปของ arduitronics.com
http://www.arduitronics.com/article

เวปเรียนรู้ เกี่ยวกับ Raspberry pi
http://thai-learning.org/index.htm

เวป Raspberry pi ของไทย อีกเวปหนึ่ง
http://raspberry-pi-th.blogspot.com/

อีกเวปหนึ่งของ Raspberry pi ที่น่าสนใจ
http://hobbyembedded.blogspot.com/2013/01/raspberry-pi.html